วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติปลาตะเพียนขาว


ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองและเป็นปลาที่คนไทยทั่วทุกภาค ของประเทศรู้จักปลาตะเพียนขาวมีชื่อสามัญหรือภาษาอังกฤษว่า Jawa หรือ carp มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus (Bleeker) เป็นปลาที่สามารถ นำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือกให้ ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงชนิดหนึ่ง ในด้านโภชนาการนั้นเป็นปลาที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทั้งในเมืองและชนบท  การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ดำเนินการเป็นครั้งแรกก่อนปี พ.ศ. 2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด)นครสวรรค์ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนาทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียมซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน 

ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อยที่มี ความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส  ระบบการกินอาหาร การตรวจสอบระบบการกินอาหารของ ปลาตะเพียนขาว ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลำคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลำตัว

นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนขาววัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สำหรับปลาขนาด ใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนขาวหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน

ลักษณะภายนอกของปลาตัวผู้คล้ายคลึงกันมากแต่เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้นคือ ตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งพื้นท้องนิ่มและรูก้นกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบนพื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบาๆ ที่ท้องจะมีน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมไหลออกมา หากเอามือลูบตามแก้มจะรู้สึกสากมือ

ปลาตะเพียนมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างไว เช่นการเปลี่ยนอุณหภูมิในรอบวัน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความเป็นกรด ด่างของน้ำ ตลอดจนสารพิษต่าง ๆ ที่มากระทบ ดังนั้นการจัดการด้านคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีความจำเป็นเพราะเป็นการป้องกันการเกิดโรคไว้ล่วงหน้าก่อน

 เทศบาลตำบลเกาะแก้ว ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้วขึ้น ในปี พ.ศ. 2553  จึงได้ทำการทดสอบการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 และได้ทำการเพาะเลี้ยงตลอดจนติดตามรายงานผลการดำเนินงาน และทางศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้วได้ทำการเพาะเลี้ยงลูกปลาตะเพียนขาวในบ่อดิน สำหรับใช้เป็นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ในการดำเนินการเพาะพันธุ์ปลา เพื่อขยายพันธุ์ปลาปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติในเขตตำบลเกาะแก้ว